เว้นว่าง

เว้นว่าง

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทบาทของเทคโนโลยีเครือข่ายกับองค์กร

 

สถานศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวเองให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แม้กระทั้ง ระบบการจัดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการเรียนรู้ การสืบค้นเอกสาร หรือการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจเป็นการจัดอันดับคุณภาพของตนเองให้ได้มาตรฐานตามที่ สมศ.กำหนด ตามนโยบายต้นสังกัด หรือตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา และสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ และชุมชน

          การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น

          การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น

          ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone)

          สำหรับด้านการบริหารงานในสถานศึกษานั้นผู้บริหารเองก็มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเช่นกัน โดยเปลี่ยนกระบวนการบริหารเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการมีหลายระบบ เช่น ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (Government Fiscal Manangement Information Systems : GFMIS) ระบบการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี E-Auction ระบบบุคลากร ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบทะเบียนนักศึกษา การประชุมทางไกล เป็นต้น ซึ่งระบบต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ที่มา : http://www.vcharkarn.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น